บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2019

กุหลาบแพนด้า

รูปภาพ
homepage                           อีกหนึ่งไม้อวบน้ำในตระกูลกุหลาบหิน ลักษณะลำต้นสูงตั้งแต่ 2 นิ้ว ขึ้นไป ลักษณะใบหนาและเรียวยาว สีใบจะออกเขียวอมฟ้าอ่อน ๆ มีขนสีเงิน และขนสีน้ำตาลที่ขอบใบ วิธีการดูแลก็คล้าย ๆ กับไม้อวบน้ำทั่วไป แม้จะชอบแสงแต่ก็ไม่ควรตั้งให้โดนแดดโดยตรงเพราะใบจะไหม้ได้ ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ดูแลรดน้ำเพียงสัปดาห์ละครั้งหรือดินแห้ง อ้างอิง    https://home.kapook.com/view154082.html

ฮาโวเทีย (Haworthia)

รูปภาพ
homepage                               ไม้อวบน้ำที่มีรูปทรงหลากหลายและแปลกตาการดูเเล  ดินหรือวัสดุปลูก : ควรมีค่าpH อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 โดยปกติแล้วถ้าในดินมีส่วนผสมของ พีทมอส หรือ ดินใบก้ามปู. ลม : ฮาโวเทียเป็นพืชที่ชอบอากาศถ่ายเท ควรมีลมพัดเป็นระยะๆ. เพื่อระบายความร้อนและความชื้นออกไปบ้าง เนื่องจากในธรรมชาติฮาโวเทียจะอยู่ในที่โล่ง ใต้ไม้พุ่มขนาดเล็ก อ้างอิง    https://www.facebook.com/Exoflora.Nursery/posts/1691936667494767/

asterias 'Star-shape'

รูปภาพ
homepage                               แอสโตรไฟตัม จัดเป็นพืชอวบน้ำในวงศ์ Cactaceae (แคค-ตา-ซี-อี้) หรือวงศ์กระบองเพชร สกุล Astrophytum (แอส-โตร-ไฟ-ตั้ม) มีทั้งชนิดที่มีหนาม และไม่มีหนาม ชื่อสกุลหมายถึง พืชดาว หรือ star plant มาจากรูปทรงที่ดูเหมือนดาว มีลักษณะเด่นที่สุดที่แคคตัสสกุลอื่นๆ ไม่มี คือ ลายประจุดสีขาวที่กระจายอยู่ทั่วไปตามลำต้น ในปัจจุบันสามารถจัดแบ่งตามลักษณะของลำต้นและหนามที่แตกต่างกันออกไปได้เป็น 6-7 ชนิด ตัวอย่างเช่น  asterias 'Star-shape ' ที่มีรูปร่างของสันพูเว้าและทรงต้นค่อนข้างแบนจนเหมือนกับรูปปลาดาว และ Astrophytum asterias 'Kikko' ซึ่งมีลักษณะของสันพูที่แบ่งกันระหว่างแต่ละตุ่มหนามจนดูคล้ายกับกระดองเต่า (คำว่า Kikko เป็นภาษาญี่ปุ่นหมายถึง กระดองเต่า) อ้างอิง    https://www.facebook.com/sarapancactus/posts/483000671901690/

ยิมโน (Gymnocalycium mihanovichii)

รูปภาพ
homepage                     เป็นแคคตัสยอดนิยมกลุ่มหนึ่งที่มีผู้สนใจอยู่มากมายทั่วโลก ยิมโนคาไลเซียมมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดกว่า 80 ชนิดซึ่งแต่ละชนิดก็ยังมีความผันแปรไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทั้งในเรื่องของทรงต้น หนาม และสีสัน ยังไม่รวมลูกผสมจากฝีมือมนุษย์และลักษณะที่กลายพันธุ์แตกต่างจากเดิมอีกมากมาย ลักษณะทางวิทยาศาสตร์ของมิฮาโนได้ระบุลักษณะเด่นที่ใช้จำแนกชนิดเอาไว้ว่า ‘เส้นผ่าศูนย์กลางราว 5 ซม. สีเขียวอมเทา มีทั้งหมด 8 พู สันแหลม มีหนามราว 5-6 หนาม เนินหนามมีขนาดเล็กราว 12 มม. ดอกมีขนาดประมาณ 3 ซม. วงกลีบเลี้ยงด้านนอกมีสีน้ำตาลอมเขียว ด้านในมีสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว บางครั้งแต้มด้วยสีแดง’ อ้างอิง    https://www.facebook.com/sarapancactus/posts/550827365119020/

Mammillaria Schumannii

รูปภาพ
homepage                           จุดเด่นที่สุดของ Mammillaria สายพันธุ์นี้ก็คือ ขนาดของดอกที่ค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับขนาดของต้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว Mammillaria จะมีดอกขนาดเล็กๆ รอบๆ หัวซะเป็นส่วนมาก ลักษณะต้นจะมีตุ่มหนาม ที่ค่อนข้างใหญ่ ปลายหนามจะเป็นลักษณะหนามขอ ถ้าได้แดดและน้ำพอเพียง ลำต้นจะมีลักษณะกลม ป้อม ไม่สูงชะลูด และหนามจะค่อนข้างแน่น เรียกว่าอ้วนเตี้ย ส่วนของกลีบดอกจะมีสีชมพู อาจจะมีแซมสีขาวบ้าง บานเต็มที่เมื่อได้รับแสงแดดพอเพียง โดยส่วนมากที่บ้านเท่าที่สังเกตุดูจะบานช่วงเที่ยงๆ สามารถออกดอกได้หลายดอกในคราวเดียวกัน ตุ่มดอกจะแทงออกมาบริเวณช่องว่างระหว่างตุ่มหนามการรดน้ำ ปกติแล้ว Mammillaria ไม่ค่อยชอบความชื้น และจะเสี่ยงต่อการเน่าได้ง่าย ดินปลูกควรจะผสมให้โปร่งหน่อย และรดน้ำตามมาตรฐาน cactus ทั่วไปคือ รดเมื่อดินแห้ง โดยทั่วไปเป็นไม้ที่หาได้ง่าย ราคาก็ไม่แพง ไม่ถึงร้อยก็ได้ไม้สวยๆ อ้างอิง    https://medium.com/th-cacti-succulents/mammillaria-schumannii-5bd65ac9d9ee